อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ หรืออุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณพลิงไหม้ (Fire Alarm Detectors)

รายละเอียดสินค้า

เป็นอุปกรณ์ตรวจจับการเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Detector) ภายในวงจรการควบคุมนั้นๆ สามารถตรวจจับได้ทั้งความร้อน ควันและเปลวไฟ อุปกรณ์ตรวจจับจะทำหน้าตรวจจับและส่งสัญญาณไปให้ตู้ควบคุม เพื่อประมวลผล แล้วแจ้งเตือนในรูปแบบของเสียง หรือแสง ต่อไป ประกอบด้วย

2.1) อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับควันอัตโนมัติ โดยมากการเกิด เพลิงไหม้จะเกิดควันไฟก่อน จึงทำให้อุปกรณ์ตรวจจับควันสามารถตรวจการเกิดเพลิงไหม้ได้ในการเกิดเพลิงไหม้ระยะแรก อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
2.1.1) แบบ Addressable Smoke Detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Detector) เป็นอุปกรณ์ต้นกําเนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย โดยอุปกรณ์เหล่านี้ จะต้องต่อทำงานร่วมกับตู้ควบคุมระบบ แบบระบุตำแหน่ง (Intelligent Fire Alarm Control Panel)
2.1.2) แบบ Conventional Smoke Detector ระบบการแจ้งเหตุแบบเป็นโซน เป็นการแบ่งพื้นที่การควบคุมของอาคารออกเป็นส่วนๆหรือโซน ตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้มีระยะค้นหาในจุดที่เกิดเหตุได้ ในการออกแบบการแจ้งเหตุแบบนี้ จะทำให้เรารู้ถึงพื้นที่การเกิดเหตุแบบเป็นโซนกว้างๆ จะไม่ทราบจุดเกิดเหตุโดยตรง อาจจะต้องตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง ระบบนี้มักติดตั้งในอาคารที่มีขนาดเล็ก

2.2) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
เป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนของวัตถุ ใช้สำหรับตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีควันน้อยเท่านั้น ทำให้บางกรณีสามารถตรวจจับเหตเพลิงไหม้ได้เร็วกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควัน โดยมีทั้งแบบตรวจจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature) และแบบตรวจจับอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise) แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
2.2.1) แบบ Addressable Heat Detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับ ความร้อน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Detector) เป็นอุปกรณ์ต้นกําเนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย โดยอุปกรณ์เหล่านี้ จะต้องต่อทำงานร่วมกับตู้ควบคุมระบบ
2.2.2) แบบ Conventional Heat Detector เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุแบบเป็นโซน เป็นการแบ่งพื้นที่การควบคุมของอาคารออกเป็นส่วนๆหรือโซน ตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้มีระยะค้นหาในจุดที่เกิดเหตุได้ ในการออกแบบการแจ้งเหตุแบบนี้ จะทำให้เรารู้ถึงพื้นที่การเกิดเหตุแบบเป็นโซนกว้างๆ จะไม่ทราบจุดเกิดเหตุโดยตรง อาจจะต้องตรวจสอบจุดเกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง ระบบนี้มักติดตั้งในอาคารที่มีขนาดเล็ก

2.3) อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station)
เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุแบบใช้มือดึง เมื่อต้องการแจ้งเหตุในขณะที่มีเพลิงไหม้เกิดขึ้น จะติดตั้งไว้ในจุดต่างๆที่ที่คนเห็นได้ง่าย มีทั้งแบบมือดัง (Manual Pull Station) และแบบทุบกระจก (Break Glass)

logo